วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียน การสอนอย่างไรบ้าง

แนวทางในการจัดการเรียน  การสอนที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นจะต้องจัดการเรียน  การสอนให้สอดคล้องกับข้อจำกัดหลาย ๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม  วัฒนธรรม  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณี  เศรษฐกิจ  รวมไปถึงระบอบการเมืองการปกครองของที่นั้นซึ่งถ้าจัดการเรียน การสอนที่ไม่สอดคล้องกับข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว  ผลสำฤทธิ์ทางการเรียน การสอนที่ออกมาอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร
การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการเรียน การสอนนั้น  จะทำให้เรารู้จุดมุ่งหมายของการสอนว่าควรจะเป็นอย่างไร  และมีวิธีดำเนินการอย่างไร  เพื่อที่จะได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้  อีกทั้งทำให้เราในฐานะผู้สอนสามารถที่จะวางแผนในการสอนได้ง่ายขึ้นด้วย
ปรัชญาการศึกษาจะช่วยทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้มาก  เพราะปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทางสำหรับการเรียนการสอนที่ครูสามารถนำมาใช้ในการเรียน  การสอนได้จริง

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร

          ปรัชญาการศึกษา  หมายถึง  แนวความคิด  หลักการ  และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา  ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา  ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน  ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ  ชัดเจน  และสมเหตุสมผล
          การที่เราจะนำเอาปรัชญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ โดยถ้าเรามองเห็นปัญหาของการศึกษา เราก็เอาปัญหานั้นมาปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น และอาจจะยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อที่จะได้ว่าเห็นถึงปัญหาของนักเรียน และนำมาพัฒนานักเรียนให้เกิดผลสำเร็จได้

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร

ปรัชญาการศึกษา คือ การค้นหาความเข้าใจในเรื่องการศึกษาทั้งหมด การตีความหมายโดยการใช้ความคิดรวบยอดทั่วไปที่จะช่วยแนะแนวทางในการเลือกจุดมุ่งหมายและนโยบายของการศึกษา
               
การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือ การจัดการเรียนการสอน อับดับแรก เราจะต้องทราบก่อนว่าปรัชญาการศึกษา คืออะไร หมายถึงอะไร มีความหมายอย่างไร และสามารถที่จะนำมาใช้อย่างไรปรัชญาการศึกษา คือ ความรักในปัญญา ความรักในความรู้ ความรักในวิชาการ เป็นต้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้  มุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ ได้คิด และได้พัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกับความพร้อมและความต้องการของผู้เรียน วิธีสอนอาจมีทั้งการอภิปราย ทดลอง ทำโครงการ การสาธิตฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน ได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ได้พัฒนาความคิดและวิธีการในการแสวงหาความรู้ต่อไป
ดังนั้น  การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนต้องมีกลวิธีต่างๆ เช่น กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำเพื่อให้วิธีเหล่านี้ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น การบรรยาย  การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น เพื่อที่ให้ผู้เรียน ได้ไปตามสิ่งที่ครูจัดไว้  ครูจะต้องเข้าใจในตัวของผู้เรียนก่อน และครูจะต้องพัฒนาผู้เรียนในเกิดสติปัญญา และมีคุณธรรมจริยธรรมด้วย


วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ ซึ่งแต่ละสังคมจะมีแนวทางในการจัดการศึกษาที่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดหรือความเชื่อในการจัดการศึกษานั้นๆ โดยแต่ละสังคมมีการนำปรัชญามาใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง กำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป
                การจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักปรัชญาพิพัฒนิยม  เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยที่ครูไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ในการแนะแนวทางให้แก่ผู้เรียน แล้วจัดประสบการณ์ที่ดีที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน อีกทั้งครูจะต้องมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง รู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดีและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และมีการวางแผนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของผู้เรียน จัดสภาพในโรงเรียนและในห้องเรียนให้พร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนให้ได้ประสบการณ์ตามที่ต้องการ หรือเป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์นั่นเอง

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

ปรัชญาเป็นแนวคิดในการกำหนดด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่  การศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด
การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมจะฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเลือกวิชาที่เรียนอย่างมีความรับผิดชอบ ครูจะเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนแต่ละคนใช้เสรีภาพในการเลือกเรียนอย่างถูกต้องและเหมาะสมการจัดการเรียนการสอน มีการจัดการสอนหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความถนัดและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตนเอง เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

การจัดการเรียนการสอนมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ไม่ว่าด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์ และสังคม
เทคนิคการสอนที่ช่วยกระตุ้นความคิดของผู้เรียนให้คิดอย่างสร้างสรรค์  ครูควรจัดการสอนโดยให้ เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ไม่ว่าจะถูกหรือผิดครูควรรับฟังความคิดเห็นก่อน ไม่ใช่ด่วนสรุปว่าคนนี้แสดงความคิดเห็นนอกกรอบและผิดประเด็น และในสิ่งที่เด็กแสดงออกความคิดเห็นออกมานั้นถูกหมด ขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำหนักของเนื้อหาว่ามากหรือน้อยแต่อย่างใด  อีกทั้งครูผู้สอนควรหมั่นซักถามเด็กเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก  และเปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์นั้น  ต้องไม่บีบบังคับและควรมีการพัฒนาเด็กต่อไป  ส่งเสริมให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการของตนเอง และมีการเสริมแรงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้น  หากประสบความสำเร็จ ก็ถือได้ว่าครูนั้นประสบความสำเร็จตามไปด้วย เพราะสามารถสร้างให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  สามารถต่อยอดความรู้ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์มีความมั่นใจในตนเอง มีความกล้าแสดงออก และเป็นคนที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป
การจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ควรเริ่มจากการสร้างบรรยากาศในการเรียนที่จะส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น ความถนัดของเด็ก สิ่งแรกที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึง คือ ทำอย่างไรให้เด็กมีความสนใจต่อการเรียนการสอนเพื่อนำสู่ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์   โดยการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ไม่ว่าในห้องเรียน นอกห้องเรียน ควรจัดบรรยากาศให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น การจัดนิทรรศการตามป้ายนิเทศ โดยต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้จัดป้ายนิเทศเองและมีการเปลี่ยนเรื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสังเกตและเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพราะการส่งเสริมความคิดนั้นไม่จำเป็นต้องนั่งคิดในห้องเรียนเสมอไป เราสามารถศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆได้อีกด้วยและเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถก็จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้คิดอย่างสร้างสรรค์ในการจัดป้ายนิเทศ ครูไม่ควนไประบุเจาะจงว่าเรื่องนี้ต้องได้อย่างนี้ตามที่ครูได้วาดไว้ ครูควรให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด ความสามารถด้วยตัวเอง โดยที่ครูเป็นแค่ผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น