วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

       การจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อน คือ
(1) ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
(2) แนวทางส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(3) วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการสอนของครู
(4) การสอนความคิดสร้างสรรค์
           ความหมายของความคิดสร้างสรรค์  คือ  กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความ
คิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เมื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยอิสรภาพทางความคิด
          แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  ก็คือ
             (1) ส่งเสริมให้เด็กถาม
             (2) ตั้งใจฟ้งและเอาใจใส่ต่อการคิดแปลกๆ ของเด็ก
             (3) กระตือรือร้นต่อคำถามที่แปลกๆของเด็ก
             (4) แสดงและเน้นให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่า
             (5) กระตุ้นและส่งเสริมเด็กให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
             (6) เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้
             (7) ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเอง
          วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการสอนของครู
             (1) การสอนให้เด็กคิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม
             (2) สอนให้เด็กคิดพิจารณาถึงลักษณะที่แปลกแตกต่างไปกว่าที่เคยคิด
             (3) การอุปมาอุปมัย
             (4) การบอกสิ่งที่คาดเคลื่อนไปจากความจริง
             (5) การใช้คำถามยั่วยุและการกระตุ้นให้ตอบ
             (6) ฝึกให้เด็กคิดถึงการเปลียนแปลง ดัดแปลงรูปแบบอื่นๆ
             (7) การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ
             (8) การสร้างสิ่งใหม่จากโครงสร้างเดิม
             (9) ฝึกให้เด็กรู้จักการสำรวจหาข้อมูล
             (10) พัฒนาทักษะการอ่านอย่างสร้างสรรค์
          การสอนความคิดสร้างสรรค์  คือ  เป็นรูปแบบที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม กระตุ้นให้เกิดความคิด
สร้างสรรค์ โดยใช้อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบ รูปแบบนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนที่ต้องการใช้
ผู้เรียนสำรวจ เปรียบเทียบค้นหาเอกลักษณ์และเข้าใจอย่างแท้จริง 
การสอนความคิดสร้างสรรค์ มี 6 ขั้นตอน
       (1) อธิบายหัวข้อ
       (2) สร้างการเปรียบเทียบจากข้อความบนกระดานดำ
       (3) อธิบายการเปรียบเทียบของตนเอง
       (4) ระบุคำที่ขัดแย้ง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญและน่าตื่นเต้น ผู้สอนให้ผู้เรียนจับคู่คำที่ไม่ถูกกัน
       (5) สร้างการเปรียบเทียบขึ้นใหม่
       (6) ทบทวนหัวข้อที่เริ่มต้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่นำมาเปรียบเทียบ ที่สร้างใหม่ไปเปรียบเทียบกับ
             หัวข้อในขั้นที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น