วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
                ในการปฏิรูปทางการศึกษา ที่สำคัญ ยิ่งที่มีผลต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่งคนดีได้นั้นหัวใจของการปฏิรูป  การศึกษาจะต้องปฏิรูป การเรียนรู้เป็นอันดับแรก ในฐานะเราเป็นผู้สอนในสถานศึกษา จะต้องเลิกจากการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนมาเป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาระสำคัญการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นั้นเป็นการปรับเปลี่ยนและวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียนมีนิสัยรักการเรียนรู้
                ดังนั้น ครูให้นักเรียนบอกวัสดุที่เหลือใช้ภายในบ้าน พร้อมทั้งบอกวิธีการที่จะนำวัสดุเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ใหม่ และเทคนิคการสอนนั้น ครูต้อง คลุกคลีกับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์เมื่อมีความคิดแปลกใหม่ ลงบันทึกในสมุด สร้างอารมณ์ขันให้ตัวเองเสมอคิดเสมอว่าทุกอย่างเป็นไปได้ พยายามคิดถึงตนในแง่ดี กระตุ้นตนเองด้วยคำถาม คิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ทางใหม่ ๆที่จะแก้ปัญหา(วิสัยทัศน์) เล่นเกมที่ใช้การขบคิด หรือวางแผน อย่ามองข้ามความคิดเล็ก ๆ น้อยๆ ค้นหาทางที่แสดงออกถึงความสามารถที่สร้างสรรค์ให้ได้ เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้ตัดสินใจด้วยตนเองได้สร้างผลงานใหม่ ๆ
                ครูที่ดีจะเป็นผู้ที่ช่วยให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความคิดสร้างสรรค์ มีงานวิจัยจำนวนมากได้สนับสนุนความสำคัญของความหวังของครูว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยชี้ให้เห็นว่าถ้าครูมีความคาดหวังต่อการเรียนของเด็กคนใดสูง เด็กคนนั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จทางการเรียนสูงกว่าเด็กที่ครูมีความคาดหวังทางการเรียนต่ำ และการเรียนรู้อย่างมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อครูเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ได้มีโอกาสค้นคว้าและหาคำตอบต่าง ๆด้วยตนเอง และวิธีการที่หลากหลาย เช่น การไปทัศนศึกษา แลกเปลี่ยนระหว่างโรงเรียน และชุมชน การชมวิดีทัศน์  การทดลอง ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และผู้เรียนตื่นตัวที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงในอนาคต นอกจากนั้น บทบาทของครูผู้สอนจำเป็นเปลี่ยนไปจากผู้ถ่ายทอดความรู้สู่อำนวยความสะดวกเป็นผู้ถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ลดวิธีการสอนโดยครูเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ปฏิรูปการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                                                                                                                                นางนิลวดี   มูนา
                                                                                                                                รหัส 67

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น