วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

“เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์”

                 ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาในทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และ อารมณ์ไปพร้อมกัน  แต่การพัฒนาสติปัญญาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ครูจำเป็นต้องสรรหาเทคนิคต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน จึงต้องหมั่นพัฒนาการสอนอยู่เสมอ โดยการสอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ควรจัดการสอนดังนี้ คือ พยายามสอนให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในลักษณะความคิดเห็นที่ขัดแย้ง เพื่อเป็นการทำให้เด็กได้คิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมที่เคยมี  สามารถพิจารณาลักษณะที่แปลกแตกต่างไปกว่าที่เคยคิด รวมทั้งลักษณ์ที่คาดไม่ถึงด้วย  อีกทั้งควรฝึกให้เด็กได้มีการอุปมาอุปมัย คือ การสร้างสถานการณ์ที่มีทั้งลักษณะที่คล้ายคลึง และลักษณะที่ตรงข้ามกัน เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบสิ่งของ หรือ สถานการณ์ที่เด็กได้พบเห็นนั่นเอง  นอกจากนั้นแล้ว ครูจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรหมั่นซักถามเด็ก  และคำถามที่ควรใช้คือ คำถามที่ยั่วยุ หรือ คำถามที่กระตุ้นให้ตอบ ซึ่งควรเป็นคำถามแบบปลายเปิด และเป็นคำถามที่เร้าความรู้สึกนึกคิด ให้ชวนคิดค้น ให้ได้ความหมายที่ลึกซึ้งสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ซึ่งคำตอบจากคำถามลักษณะนี้จะไม่มีคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว แต่มีหลายๆคำตอบ  ดังนั้นผู้เป็นครูจึงต้องทำใจเป็นกลาง เมื่อเด็กได้ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด ถึงแม้เป็นสิ่งที่ครูไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ก็ควรรับฟัง  และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้หรือค้นคว้าอย่างต่อเนื่องต่อไป  ซึ่งการพัฒนาให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์นั้น  ต้องไม่ใช้การเร่งรัด หรือ บีบบังคับ แต่ควรปล่อยให้เด็กได้พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป  พยายามส่งเสริมให้เด็กได้ใช้จินตนาการของตนเอง และ ยกย่องชมเชยเมื่อเด็กมีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดี  ซึ่งการพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้น  หากประสบความสำเร็จ ก็ถือได้ว่าครูนั้นประสบความสำเร็จตามไปด้วย เพราะสามารถสร้างให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  สามารถต่อยอดความรู้ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น