วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

“เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์”

                            เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา และสภาพแวดล้อมอื่นๆแล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นความรู้เรื่องเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น ผู้สอนในยุคโลกาภิวัตน์
         สำหรับเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันและใช้ได้ผล ประกอบด้วยเทคนิคการสอนดังต่อไปนี้
          1. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกันหรือทำงานเป็นกลุ่ม
เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือ กันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกัน สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคน นอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะใน ชั้นเรียนผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทบทวน อธิบาย
         2. เทคนิคการสอนแบบระดมสมอง
ลักษณะสำคัญ ผู้เรียนจะแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อช่วยกันคิดหาคำตอบ สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง ซึ่งข้อดีของการสอนแบบระดมสมองสามารถ ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาและ ส่งเสริมการร่วมมือได้
       3. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
เป็นวิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ในชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือนจริงที่สุด ทำการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลถึงผู้เรียนด้วย
      4.   การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ผู้เรียนเป็นคนสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนและผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด ปัจจุบันแนวคิดการสรรค์สร้างความรู้ได้รับการยอมรับอย่าง แพร่หลายว่ามีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากที่สุด

                                                                                                                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น