วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

ปรัชญาเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้ได้แนวทางการจัดการศึกษาที่ดีที่สุดและเป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษาหรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ปรัชญาการศึกษาจะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนและพัฒนาชีวิตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  ส่วนการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษานั้นๆ และมีคำกล่าวที่ว่า การจัดการศึกษาโดยไม่มีปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทางก็เป็นเสมือนเรือที่แล่นไปในท้องทะเลโดยไม่มีหางเสือ เนื่องจากว่าปรัชญาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษา ซึ่งปรัชญาที่เราสามารถที่มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีหลายปรัชญาด้วยกัน ในที่ที่นี้ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการนำปรัชญา ประสบการณ์นิยม มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเนื่องจากในปัจจุบันการเรียนรู้ต้องควบคู่กับประสบการณ์ตามยุคสมัย ส่งผลให้เด็กสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีขั้นตอนโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือผู้เรียนมีการทำกิจกรรมต่างๆ จริงมิใช่เกิดจากการฟัง  การดู  หรือการนึกคิดอย่างในสมัยก่อน  คนที่มีประสบการณ์มากจึงฉลาดมาก  สามารถเอาตัวรอดและอยู่เป็นสุขในสังคม ในการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้มีลักษณะสำคัญ คือ เน้นการเรียนรู้โดยวิธีการแก้ปัญหา   ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเรียนรู้ในขณะที่นำความรู้นั้นๆ มาใช้จัดกิจกรรมการทดลองค้นคว้า  ฝึกแก้ไขปัญหาด้วยตนเองและการลงมือปฏิบัติจริง  เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง  เช่น  การสอนด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์  โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้  มากกว่าการท่องจำเนื้อหาวิชา  เพราะเนื้อหาวิชาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  และเนื้อหาวิชาต่างๆนั้น  มีมากมายเกินกว่าที่จะจดจำรายละเอียดได้หมด ส่ผลให้ผู้เรียนเกิดจากการเชื่อมโยงประสบการณ์เก่ากับประสบการณ์ใหม่ นักเรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ  โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะเท่าที่จำเป็น  ครูจะจัดกิจกรรมต่างๆ  หรือสร้างสถานการณ์จำลองแล้วให้นักเรียนใช้ประสบการณ์เดิมมาแก้ปัญหา  เพื่อการค้นพบประสบการณ์ใหม่ที่จะเป็นคำตอบของปัญหานั้นๆ  ครูที่เก่งที่สุด  คือ  ครูที่สอน(พูด) น้อยที่สุดแต่นักเรียนเรียนรู้ได้มากที่สุด
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาประสบการณ์นิยมเป็นการเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริง 

2 ความคิดเห็น:

  1. ครูที่เก่งที่สุด คือ ครูที่สอน(พูด) น้อยที่สุดแต่นักเรียนเรียนรู้ได้น้อยที่สุด

    นักเรียนเรียนรู้ได้มากที่สุดหรือน้อยที่สุดค่ะ

    ตอบลบ