วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
เรียบเรียงโดย นายอ๊ะหมัด  ดอละ
นศ.ป.บัณฑิต วิชาชีพครู (วันเสาร์)
สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์ภาคใต้ ยะลา

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก  โดยทั่วไปปรัชญาการศึกษาจะมุ่งศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษา  โดยกำหนดหลักการกว้างๆ ไว้  ส่วนทฤษฎีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาหลักการจากปรัชญาสาขาใดสาขาหนึ่ง  หรือหลายสาขามาสร้างเป็นทฤษฎีการศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ  ([1])  
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาช่วยให้การจัดการศึกษามีระบบและสมเหตุสมผลที่กำหนดภาพรวมได้ ซึ่งปรัชญาการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษามี 5 ลัทธิ ได้แก่ ลัทธินิรันตรนิยม (Perennialism) สารัตถนิยม (Essentialism) พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) บูรณาการนิยม (Reconstructionism) และอัตภาวะนิยม (Existentialism) ([2])
สำหรับประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมในผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
          ปรัชญาหรือทฤษฎีการศึกษาดังกล่าวจะมีแนวทางในการนำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่าง มีจุดเน้น จุดเด่น จุดด้อย ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไปสามารถเลือกและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษา หลักในการจัดการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละสังคมได้ การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาจะต้องพิจารณาว่าแนวทางใดจึงจะดีที่สุดซึ่งจะต้องคำนึงให้สอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง เป็นต้น ปรัชญาการศึกษาลัทธิหนึ่งอาจจะเหมาะกับประเทศสังคมหนึ่ง ส่วนสังคมหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันต้องใช้ลัทธิการศึกษาอีกลัทธิหนึ่งหรืออาจจะผสมผสานบูรณาการกันก็ได้


([1]) เว็บไซต์ วันที่ 1 พ.ค. 2554 : http://www.wijai48.com/learning_stye/ed_theory.htm  
([2]) จิตรกร ตั้งเกษมสุข. (2525). พุทธปรัชญากับปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : บางกอกการพิมพ์. หน้า 22 , 25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น