วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร

ปรัชญาการศึกษาไทยมีผู้ให้แนวคิดสำคัญๆคือ
ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ปยุตโต) สรุปได้ว่าการศึกษามีวัตุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัว ในการที่จะกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด พระราชวรมุนี (ประยุตธ์ ปยุตโต) ได้กล่าวว่า การศึกษาจึงเป็นกิจกรรมของชีวิตโดยชีวิตและเพื่อชีวิต บนฐานความคิดข้างต้นกระบวนการศึกษาจึงควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้
                        1.การมีความรู้ ความเข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงสามารถฝึกอบรบและพัฒนาได้โดยใช้ไตรสิกขา 1 ศีล การประพฤติปฏิบัติถูกต้อง 2 สมาธิ การวางใจแน่วแน่ 3 ปัญญา การเห็นทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและถูกต้อง
                        2.การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่
                        3.การรู้จักและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของตนกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของปรัชญ์การศึกษากับการสอน
          “ปรัชญา”มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ว่าเป็น วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ปรัชญาการศึกษากับทฤษฎีการศึกษาไว้ว่าปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องของความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ตั้งไว้บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่งไม่ใช่เป็นความคิดแบบล่องลอยแต่ต้องเป็นความคิดที่แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่ง ถ้าไม่ได้แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทใดๆแล้ว จะเป็นเพียงหลักการศึกษาหรือฎีกาศึกษา ดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างลึกซึ้งในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของการคิดและการกระทำต่างๆในด้านการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน
      ถ้าเราต้องการที่จะวิเคราะห์เรื่องการศึกษาของไทย ว่ามีการได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาใด คงต้องเริ่มจากการศึกษาจากวิวัฒนาการของการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งในชั้นเรียนของพวกเรานั้นได้มีการแบ่งช่วงของวิวัฒนาการด้านการศึกษา ออกเป็น 5 ช่วงด้วยกัน (ตามการปกครองของช่วงรัชกาลต่างๆ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น