วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัการเรียนการสอน

                          ปรัชญาทางการศึกษา เป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา หรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร กล่าวได้ว่า ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  มีเป้าหมายเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกได้    เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
4.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
5.  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

ปรัชญาที่นำมาจัดการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอน ครูแต่ละคนมีเทคนิคใน การสอนที่แตกต่างกัน ทำไมครูบ้างคน เด็กชอบและสนใจเรียน บอกกล่าวสิ่งใดเด็กก็ปฏิบัติตาม ให้ความเคารพยำเกรง และทำไมครูอีกคน เด็กไม่ชอบไม่สนใจ และไม่เชื่อฟัง ทำไมเด็กปฏิบัติตนกับครูแตกต่างกัน นี่คือสิ่งที่นำมาซึ่งการเรียนรู้ปรัชญาการเรียนการสอน รวมถึงจิตวิทยาที่ต้องใช้ในการเรียนการสอนนั้นๆด้วย ในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ของคนและสัตว์ มีเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ถ้าทำกิจกรรมได้ถูกต้องจะเป็นการเสริมแรง (Reinforcement) ในการปฏิบัติกิจกรรมต่อๆไป จะแตกต่างกันตรงที่สัตว์ต้องการแรงเสริมเป็นวัตถุ เช่น อาหาร แต่มนุษย์ต้องการวัตถุหรือความสุขใจก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น