วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

           เทคนิคการสอนสำหรับดิฉัน  การศึกษาที่สำคัญยิ่งที่มีผลต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง   คนดี  ได้นั้นครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาททำให้ผู้เรียนสามารถเป็นคนดี  คนเก่ง  ครูยุคใหม่ต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสอน  เน้นการบรรยายมเป็นการกระตุ้น  เปิคโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดมีรูปแบบวิธีสอนเทคนิคการสอน  ฉะนั้นการปฏิรูปการเรียนคือหัวใจของการปฏิรูปการสอนเป็นอันดับแรก
           การปฏิรูปการศึกษาการเรียนรู้จึงควรเริ่มที่สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเทคนิคที่ใช้ในการสอนคิดเพิื่อพัฒนาให้ผู้เรียนกล้าคิด  กล้าแสดงออก  โดยมีทักษะคิดประเภทให็ข้อเท็จจริงให้ความรู้  คิดเพื่อแสดงความรู้สึกอารมณ์ คิดเพื่อแสดงความคิดใหม่ๆ  เทคนิคการสอนนี้ที่น่าสนใจวิธีหนึ่งคือ  การใช้คำถาม  เช่น  การใช้คำถามแสดงความคิดเห็น  การตั้งคำถามเป็นการช่วยให้ครูผู้สอนสามารถกระตุ้นผู้เรียนให้คิดเป็นได้  เพราะผู้เรียนคิดตอบปัญหาที่ผู้สอนถามอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับการใฝ่หาความรู้เพื่อนำมาตอบคำถามของผู้เรียนจะปลูกให้ผู้เรียนอยากเรียนอยู่ตลอดเวลาและอีกอย่างหนึ่ง  ในการตอบคำถามแต่ละครั้งนั้น  เราควรให้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กที่มีความตั้งใจในการเรียนให้มากขึ้น  และควรจัดการเรียนรู้จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีการประกันคุณภาพภายในผสมผสานอยู่ในกระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นส่วนที่สำคัญ  เช่น
     ๑. เปิดโอกาสให็ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้มากที่สุด
     ๒. เน้นความร่วมมือซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
     ๓. เน้นการประเมินตนเอง  การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพือให้ผู้เรียนได้เหจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
     ๔. เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง
     ๕. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่่มีผลต่อการพัฒนาคน ให้เป็นคนเก่ง  คนดีได้ ทุกสถานศึกษาจะต้องเลิกการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง  แต่เปลี่ยนเป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาลแทน  หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น