วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
การสอนความคิดสร้างสรรค์ นี้ เป็นรูปแบบที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบรูปแบบการนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการ สอนที่ต้องการให้ผู้เรียนสำรวจ เปรียบเทียบค้นหาเอกลักษณ์ และเข้าใจอย่างแท้จริง
การสอนความคิดสร้างสรรค์ มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ดังนี้ (ชนาธิป พรกุล. 2545 : 131)
1. อธิบายหัวข้อ ผู้สอนเลือกวิชาสาขาใดก็ได้ที่ต้องการให้ผู้เรียนฝึก หัวข้อที่นำมาใช้อาจเป็นตัวละครจากนิยายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมโนทัศน์ เช่น เสรีภาพ หรือ ความยุติธรรม ให้ผู้เรียนอธิบายหัวข้อเรื่องด้วยคำพูดหรือการเขียน ผู้สอนเขียนคำเหล่านี้ลงบนกระดาษดำ โดยไม่เลือกว่าเป็นคำตอบที่ถูกหรือผิด
2. สร้างการเปรียบเทียบ จากข้อความบนกระดานดำที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ผู้สอนให้ผู้เรียนจัดให้เป็นหมวดหมู่พร้อมกับตั้งชื่อหมวดหมู่และอธิบาย เหตุผลในการจัดหมวดหมู่เหล่านั้น
3. อธิบายการเปรียบเทียบของตนเอง  ให้ผู้เรียนเลือกเรื่องแล้วสมมุติว่า ตนเองเป็นสิ่งนั้น     แสดงความรู้สึกถ้าเป็นสิ่งนั้นไม่มีการช่วยเหลือ ฉันต้องทำสิ่งที่คนอื่นกำลังทำ  มีอำนาจ - ฉันเป็นราชินี และฉันสามารถทำให้ผู้อื่นทำตามที่ฉันสั่ง
4. ระบุคำที่ขัดแย้ง  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญและน่าตื่นเต้น ผู้สอนให้ผู้เรียนจับคู่คำที่ไม่ถูกกันเป็นคู่อริกัน เช่น
น่ากลัว กับ ปลอดภั
ไม่มีการช่วยเหลือ กับ มีอำนา
อิสรเสรี กับ ถูกจองจำ
คำแต่ละคำมีความขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ให้ผู้เรียนอธิบายเหตุผลที่เขาคิดว่าคำแต่ละคำเป็นอริกัน แล้วให้ผู้เรียนให้คะแนนว่าคำคู่ใดมีความขัดแย้งกันมากที่สุด
5. สร้างการเปรียบเทียบขึ้นใหม่ ให้ผู้เรียนสร้างคำเปรียบเทียบคู่ใหม่ โดยใช้คำคู่ที่เลือกว่าดีที่สุดในขั้น 3 เช่น
ถ้าเลือกอิสรเสรีและจองจำ การเปรียบเทียบใหม่อาจเป็น
เสืออยู่ในกรง  มนุษย์ในสังคม  นักบินในยานอวกาศ
6. ทบทวนหัวข้อที่เริ่มต้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่นำมาเปรียบเทียบที่สร้างใหม่ไปเปรียบเทียบกับหัวข้อใน ขั้นที่ 1 ถ้าคำเปรียบเทียบที่เลือกคือเสือในกรง และผู้สอนกำลังต้องการสอนตัวละครในนิยาย ผู้สอนจะให้ผู้เรียนอธิบายลักษณะของเสือในกรง แล้วเปรียบเทียบกับตัวละคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น