วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

ปรัชญาการศึกษา เป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาแม่บทหรือปรัชญาทั่วไปที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต  หากบุคคลมีความเชื่อว่า  ความจริงของชีวิตเป็นอย่างไรปรัชญาการศึกษาจะจัดการศึกษาพัฒนาคนและพัฒนาชีวิตให้เป็นไปตามนั้น  ส่วนการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษานั้นๆ ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นอย่างไร  จึงต้องศึกษาถึงที่มา  คือ  ปรัชญาด้วย    การจัดการศึกษาโดยไม่มีปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทาง  ก็เป็นเสมือนเรือที่แล่นไปในท้องทะเลโดยไม่มีหางเสือ
ปรัชญาการศึกษาเป็นที่มาหรือหลักยึดในการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของครู  ครูควรให้ความสนใจในหลักการมิใช่มุ่งความสนใจไปที่เทคนิควิธีการสอนเท่านั้น  ครูพึงศึกษาแนวคิด  ความเชื่อหรือหลักการต่าง ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายและเลือกสรรสิ่งที่ตนเชื่อถือ  หมั่นวิเคราะห์การคิดและการกระทำของตนว่าสอดคล้องกันหรือไม่  เปิดโอกาสให้ตนเองได้มีประสบการณ์ในสิ่งที่แตกต่างออกไปเพื่อพิสูจน์ทดสอบแนวคิดใหม่ๆอันอาจจะนำมาซึ่งทางเลือกใหม่  ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

ปรัชญาทำให้เกิดการศึกษา การจัดการศึกษาต้องอาศัยแนวคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ต่างๆเข้ามาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีระบบ สมเหตุสมผล และประสบความสำเร็จตามภาพที่วางไว้
         ครูผู้สอนสามารถนำแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งที่เชื่อถือมาและประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนหรือผสมผสานแนวคิดต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมตลอดจนเหมาะสมกับผู้เรียนทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานเกิดองค์ความรู้และการเรียนรู้ต่างๆง่ายขึ้น โดยครูผู้สอนต้องให้ความสำคัญและความสนใจในหลักการสอน พึงศึกษาแนวคิด ความเชื่อหรือหลักการต่างๆที่ตนเชื่อถือ หมั่นวิเคราะห์แนวคิดต่างๆและเปิดโอกาสให้ตนเองได้มีประสบการณ์ในสิ่งที่แตกต่างออกไปเพื่อพิสูจน์ทดสอบแนวคิดใหม่ๆอันอาจจะนำมาซึ่งทางเลือกใหม่ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
               ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินได้อย่างเป็นระบบ ชัดเจน สมเหตุสมผล มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ คุณค่า และประสบความสำเร็จในที่สุด

การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียน การสอนได้อย่างไร

ปรัชญากับการศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนจะต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดหลักในการดำเนินการทางการศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ฉะนั้นการนำปรัชญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความสำคัญมาก เพราะถือเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงเพื่อให้ดำเนินการจัดการเรียนอย่างเป็นระบบชัดเจนและประสบผลสำเร็จ

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง
               จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา มีความหมายดังนี้  ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาทั่วไปอันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใดๆ ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการต่างๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความเชื่อนั้นๆ
           การนำปรัญญาการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ถึงลักษณะของเรื่องธรรมชาติในรอบๆตัวเรา ว่ามีอะไรบ้าง คนที่เป็นครูจะต้องมีการเตรียมเนื้อหาสาระในเรื่องขององค์ประกอบต่างๆ ของธรรมชาติ รวมถึงรายละเอียดต่าง เช่นภาพประกอบ เป็นต้น เพราะนักเรียนจะได้มองเห็นภาพ และมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสามารถนำปรัชญาการศึกษาในเรื่องนี้มาเกี่ยวเนื่องกับหลักศรัทธา ความเชื่อด้านศาสนา เช่นตามหลักศาสนาอิสลาม คืออัลลฮจะเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งต่างๆ
เป็นต้น
         ดังนั้นการที่เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กนักเรียนจะต้องอ้างหลักความเป็นจริงในเรื่องนั้น เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้อย่างชัดเจน

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง ?

              เราต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ "การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้จึงจะเป็นไปตามที่เราต้องการ เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ก็ต้องจัดกิจกรรมการทดลองต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ได้ความรู้ เป็นต้น โดยสอดคล้องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นต่อไปได้ และสามารถสร้างแรงจูงใจให้คนเรียนอยากเรียนด้วยค่ะและยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานต่อไปอีกด้วยค่ะ

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง ?

            เพื่อส่งเสริมให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ก็ช่วยให้จัดหลักสูตรการเรียนและ ตารางการเรียน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียนเพื่อที่ผู้เรียน ไม่อัดแน่เกินไป หรือว่าไม่น้อยเกินไปและยังสร้างแรงจูงใจให้คนเรียนอยากเรียนโดยให้สอดคล้องกับ วิธีการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น รวมทั้งให้ผู้เรียนร่วมกำหนดเนื้อหาบางส่วนได้(ตามลักษณะของวิชา) ฯลฯ เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางเป็นหลักการและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบต่อไปได้

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

ในการจัดการการเรียนการสอนของครูเพื่อให้เด็กมีความคิดที่สร้างสรรค์ คือครูต้องมีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดที่สามารถพัฒนาความคิดที่ริเริ่ม ไม่รู้สึกเบื่อ รู้สึกสนุกสนานในการฟัง ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าให้ได้เนื้อหาที่มีสาระมากที่สุด ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครูหรือว่าเทคนิคของครูในวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนมากขึ้น คือเทคนิคการสอน การเล่านิทานให้กับผู้เรียนฟัง อันดับแรกเลือกเรื่องที่สนใจ ตัวประกอบละคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องและบทสุดท้าย คือสรุปเนื้อหา ครูจะต้องเทคนิคให้กับเด็กซึ่งนิทานแต่ละเรื่องก็มีความแตกต่าง เช่น นิทานชาดก นิทานอีสบ สิ่งสำคัญครูต้องตั้งคำถามให้กับเด็กในห้อง ถามว่าจะฟังนิทานอะไร ชอบนิทานใดมากที่สุด หลังจากนั้นพอเล่านิทานเสร็จให้ตั้งคำถามต่อไปว่าเด็กได้รับรู้หรือได้แง่คิดอะไรบ้างเกี่ยวกับนิทานที่เล่ามาหรือให้ร่วมกันตั้งคำถามความคิดรวบยอดภายในกลุ่มหลังจากนั้นให้สรุปประเด็นหรือสาระสำคัญที่ครูเล่ามา
 สรุปคือเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องทำให้นักเรียนมีวิธีการคิดให้ได้ความรู้มากที่สุด

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

     เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนช่วยให้เกิดความคิดใหม่แตกต่างไปจากเดิมและสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
     การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้นผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนทำงานต่างๆเช่น ให้เขียน บรรยาย เล่าเรื่อง ทำการแสดง วาดภาพ เป็นต้น เสร็จแล้วให้เก็บผลงานไว้ผู้สอนอาจเสนอคำคู่ให้ผู้เรียนเปรียนเทียบความเหมือนที่แตกต่างเช่น ลูกบอลกับลูกมะนาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร คำคู่ที่ผู้สอนเลือกมาควรให้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาหรืองานที่ผู้เรียนทำผู้สอนอาจให้ผู้เรียนสมมุตตัวเองเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งและแสดงความรู้สึกออกมา ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำคู่ที่ขัดแย้่ง ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนนำงานที่ทำมาทบทวนใหม่ แล้วนำความคิดที่ได้มาใช้กับงานของตน
    ดังนั้น ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ได้นั้น ผู้เรียนสามารถนำความคิดใหม่ๆนั้นไปใช้ในงานของตนทำให้งานของตนมีความแปลกใหม่น่าสนใจมากขึ้นและผู้เรียนอาจเกิดความตระหนักคุณค่าในการคิดและรับความคิดของผู้อื่นอีกด้วย



                                                                                                                      นางสาวพรรณ์นี  แก้วแสงสุข
                                                                                                                      รหัส 5316417008  เลขที่ 8 

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

          การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คือ การสอนที่พบว่าหลังจากเด็กได้รับความรู้ หรือมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้ ซึ่งครูอาจมีวิธีการมากมายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จ จึงใช้วิธีการเดียวกันนี้สำหรับสอนเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้พัฒนาขึ้นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะว่าเด็กมีพื้นฐานต่างกัน ความรู้ความสามารถของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น แล้ว  
         กระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้   ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรมต่าง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ต้องการให้ผู้รู้นั้น   นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนแนวใหม่จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น ผู้สอนในยุคโลกาภิวัตน์

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คือ การสอนที่พบว่าหลังจากเด็กได้รับความรู้ หรือมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้ ซึ่งครูอาจมีวิธีการมากมายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จ จึงใช้วิธีการเดียวกันนี้สำหรับสอนเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้พัฒนาขึ้นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะว่าเด็กมีพื้นฐานต่างกัน ความรู้ความสามารถของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่นความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น แล้ว 
 กระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้   ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรมต่าง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ต้องการให้ผู้รู้นั้น   นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนแนวใหม่จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น ผู้สอนในยุคโลกาภิวัตน์
   โดยผู้สอนนำกระบวนการการเรียนการสอนเหล่านี้มาพัฒนาเทคนิคการสอน เพื่อกระตุ้นให้มีผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้



                  เด็กอาจได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่เต็มที่ ถ้าหากครูใช้วิธีการสอนเช่นนั้น ดังนั้นครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม เพื่อสนองต่อเด็กกลุ่มที่มีความหลากหลายในห้องเรียนรวม   

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

ในการทำการเรียนการสอน เทคนิคการสอนของแต่ละคนนั้นมีวิธีที่แตกต่างกันแต่ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นก็เพื่อหวังให้เกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งโดยหลักๆแล้วมีอยู่ด้วยกันสองสิ่งที่สำคัญ คือ การมีมุมเรียนรู้ที่ดีและการได้ทำกิจกรรมร่วมกันในชั้นเรียน
                การเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเกิดความคิดสร้างสรรค์  ครูผู้สอนควรที่จะจัดมุมการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอาจจะเป็นผลงานของนักเรียนที่นักเรียนทำขึ้นเองหรือครูผู้สอนเป็นผู้ทำผลงาน  โดยการหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเพื่อเป็นแนวทางและแหล่งจุดประกายความคิดให้กับผู้เรียน
                ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้นอยู่ที่ตัวครูผู้สอนเป็นสำคัญ  การเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น  ซึ่งทั้งนี้ต้องเกิดจากความสมัครใจที่จะแสดงความคิดเห็น  เพราะหากเป็นการบีบบังคับหรือเร่งรัดเอาคำตอบจะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถใช้ความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นเหตุเป็นผลได้ เพราะผู้เรียนเกิดภาวะเครียดและเกร็งไม่สามารถคิดและตอบในสิ่งที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ได้  ทั้งนี้ตัวผู้สอนต้องมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาพยายามหากิจกรรมในห้องเรียนโดยต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนและผู้สอนได้ทำร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการตัวละมีสมาธิและสามารถใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่
                หากผู้เรียนและผู้สอนสามารถทำได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อว่าการเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งตัวผู้เรียนและตัวผู้สอน การศึกษาของเด็กไทยก็จะดียิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  ต้องเป็นเทคนิคที่นักเรียนเข้าใจง่ายและปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและต้องทำทุกวันและอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัยและสามารถใช้กับชีวิตประจำวันได้
เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  ก็คือให้นักเรียนรู้กล้าแสดงออก โดยการเปิดโอกาสให้นักเรียน  ซัก-ถาม  ตลอดเวลาและสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักเรียนกล้าถาม ครูก็ต้องเปิดโอกาสให้เด็กถาม  ครูอย่าโกรธหรือโมโหเวลานักเรียนถามหรือให้ตอบอะไร  ถ้านักเรียนคนใดถามคำถาม  ครูก็ต้องให้เด็กนักเรียนตบมือทุกครั้งและชมเชยทิ่ถาม  นี่คือสิ่งหนึ่งที่ให้นักเรียนกล้าถาม  และสอนให้นักเรียนเป็นคนกล้าแสดงออกและสิ่งที่ตามมาจากนักเรียนที่กล้าแสดงออก ก็คือ  นักเรียนจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดเวลา  ชอบทดลองพอได้รับคำตอบที่ถูกต้องและเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็น  สนใจสี่งใหม่ตอดเวลาและเป็นคนที่มีความคิด  ขยัน อดทน และกล้าทำ  กล้าตัดสินใจในทางที่ถูกต้องและผลที่ตามมาที่นักเรียนได้รับ  ก็ทำให้นักเรียนมีความจำดี  สามารถจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและเป็นคนที่สนใจสิ่งรอบ ๆ ตัว   เห็นอะไร  มองอะไร  ทำอะไร  ก็จะรู้คำตอบได้อย่างรวดเร็ว
สุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุดก็คือครูต้องเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องมีทักษะความรู้  ความสามารถ  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  สิ่งเหล่านี้ที่จะนำมาให้คำถามคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองและนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

“เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์”
การศึกษาในโลกปัจจุบันนี้มีความสำคัญมากต่อมนุษย์เพราะเป็นกุญแจที่จะนำทางไปสู่อนาคตที่งดงามและสดใสได้  ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนผู้สอนต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้สอนก็สอนตามเทคนิคของตนเองหรือตามหลักสูตรที่กำหนดเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้   ความสามารถ  และความเข้าใจ   ตามที่ผู้เรียนต้องการได้
การให้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนตามเทคนิคการสอนของผู้สอนโดยมีผลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน    เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด  ได้ตัดสินใจด้วยตนอง  สร้างผลงานใหม่ๆ ตามจินตนาการของผู้เรียนโดยมีความแปลกใหม่  ซึ่งผู้สอนได้สนับสนุนและส่งเสริมความรู้  ทักษะ  ความสามารถ  และแรงจูงใจแก่ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์   โดยไม่วิจารณ์หรือเปรียบเทียบผลงานของผู้เรียน  ให้แนวคิดและคำตอบให้มากที่สุด  ยอมรับคิดเห็นทั้งหมด  ฝึกการคิดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยมีการปฎิบัติบ่อยๆ  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนลืม !
เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์นั้นจะมีอยู่หลากหลายวิธีตามเทคนิคของผู้สอน  ถ้าผู้สอนสอนมาดี  ผู้เรียนก็จะได้ดีตามผู้สอน ก็เป็นอีกหนทางที่จะพัฒนาผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้
ดังนั้นเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ผู้สอนต้องมีใจในรักการสอนรักการงานมีความรู้ความสามารถที่ทันสมัยรู้จักผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยมีเทคนิคการสอนที่เน้นการจัดกิจกรรมที่ท้าทายและกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  กล้าแสดงออก และสามารถที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองได้  ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก็จะนำผลไปสู่ความสำเร็จของผู้เรียนได้

เทคนิคการกระตุ้นใ ห้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการกระตุ้นใ ห้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์   ครูต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ก่อน คือ
      1. ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
      2. แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
      3. วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการสอนของครู
      4. การสอนความคิดสร้างสรรค์
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
      ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลาย ๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยมีอิสรภาพทางความคิด
แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
      1. ส่งเสริมให้เด็กถาม และให้ความสนใจต่อคำถาม และคำถามที่แปลก ๆ ของเด็กครูไม่ควรมุ่งที่คำตอบที่ถูกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์ค้นหาโดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของตัวเด็กเอง
      2. ตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อการคิดแปลก ๆ ของเด็ก ด้วยใจเป็นกลาง เมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ควรรับฟังไว้ก่อน
      3. กระตือรืนร้นต่อคำถามที่แปลก ๆ ของเด็กด้วยการตอบคำถามอย่างมีชีวิตชีวาและชี้แนะให้เด็กหาคำตอบจากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
      4. แสดงและเน้นให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่า และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น จากภาพที่เด็กวาด อาจให้นำไปเป็นภาพปฏิทิน ส.ค.ส. เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะคิดสร้างสรรค์ต่อไป
      5. กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะลดบทบาทของการชี้แนะและลดการอธิบายลง ให้เด็กมีโอกาสริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเองมากขึ้น และยกย่องเด็กที่พยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง
      6. เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ หรือค้นคว้าอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยไม่ต้องใช้วิธีบีบบังคับด้วยคะแนน
      7. พึงระวังว่าการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กต้องใช้เวลาและพัฒนาอย่างคอยเป็นค่อยไป
       8. ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเองและยกย่องชมเชย เมื่อเด็กมีจินตนาการที่แปลกกว่าคนอื่น

เทคนิคการกระตุ้นใ ห้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการกระตุ้นใ ห้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
เทคนิคการกระตุ้นใ ห้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นภาระหน้าที่ของครูในปัจจุบันที่ควรเน้นให้ปฏิบัติตามมากที่สุด เพราะการจัดการจัดการการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ และยังสามารถช่วยเหลือนักเรียนที่อ่อนให้เรียนได้ดีขึ้น  เนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วนที่สุด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นปัญหามากขึ้น  ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการศึกษาต่อไปในอนาคต
วิธีการสอนเชิงสร้างสรรค์
๑.                         ต้องมีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
๒.                       ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ เนื่องจากมีการปฏิสัมพันธ์ ได้เรียนรู้การปรับตัวที่เข้ากับผู้อื่น  มีโอกาสได้รับและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
๓.                       เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
๔.                       ให้กำลังนักเรียนพร้อมทั้งหาวิธีการให้นักเรียนได้ฝึกร้องเพลงยังถูกวิธี  เนื่องจากการร้องเพลงเป็นการใช้ทักษะซึ่งต้องมีการฝึกฝนกับความเชื่อมั่นของนักเรียน
๕.                       ฝึกและให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องในสิ่งที่นักเรียนทำได้จะเป็นการช่วยให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น
๖.                        พานักเรียนไปเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน  ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  นอกห้อง
๗.                       ทดสอบนักเรียนภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องและติดตามผลที่ได้รับ
๘.                       เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำดี เนื่องจากบันทึกของนักเรียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำความดีทั้งสิ้น
๙.                        ให้นักเรียนจดงาน ตามที่ครูเขียนไว้บนกระดานอย่างครบถ้วน  เนื่องจากการเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

            เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  คือ การที่เราเป็นครูก่อนอื่นเราต้องมีเทคนิคในการสอนหนังสือเพื่อให้นักเรียนเกิดความกระตุ้น หรือเกิดความสนใจที่อยากทำหรืออยากเรียนหนังสือ  ดั้งนั้นการที่เราเป็นครูเราควรทำอย่างไรเพื่อจะให้นักเรียนเกิดการกระตุ้นอยากเรียนมากที่สุด
           การที่เราเป็นครูการสอนหนังสือถือว่าเป็นเรื่องที่ครูทุกคนต้องทำให้ดีที่สุด เพราะครูถือว่าเป็นแม่คนที่สองของนักเรียนเพราะผู้ปกครองต่างก็ให้ความหวังกับครู  ว่าครูต้องสอนให้นักเรียนเป็นคนฉลาด เป็นคนดี เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นคนที่ทันต่อสถานการณ์ยุดโลกาภิวัฒน์  และการสอนแบบใดที่จะทำให้นักเรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์ เช่น ในการสอนหนังสือทุกครั้งเราควรสอนในเรื่องที่นักเรียนชอบก่อนเป็นอันดับแรก  เราก็ควรเอาสิ่งนั้นมาสอนนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการกระตุ้นอยากเรียนหนังสือต่อ ส่วนใหญ่นักเรียนชอบเกี่ยวกับการประดิษฐ์ก็เพราะนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นเด็กที่มีความคิดเป็นอิสระมีความคิดเป็นของตัวเอง และในฐานะที่เราเป็นครูเราก็ควรส่งเสริมนักเรียนให้ทำในสิ่งตนเองชอบ และให้นักเรียนประดิษฐ์สิ่งที่นักเรียนชอบมาคนละ1อย่าง นักเรียนก็จะเริ่มสนใจว่าอยากทำ หรืออยากประดิษฐ์อะไร  นักเรียนก็จะเริ่มมีความคิดที่สร้างสรรค์ออกมา เมื่อนักเรียนประดิษฐ์เสร็จแล้เราก็สามารถเข้าสู่บทเรียนได้ นักเรียนก็จะเริ่มสนใจเรียนหนังสือต่อ
        เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์  ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่อยากพอสมควร ที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจที่อยากเรียน  ในฐานะที่เราเป็นครูก็ควรทำอย่างไรก็ได้ก็ได้ที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ  และให้นักเรียนมีความคิด  ความกล้าแสดงออกให้มากที่สุด เพื่อนักเรียนจะได้มีความคิดที่สร้างสรรค์ขึ้นมา      และในฐานะที่เราเป็นครูก็ควรบอกกับนักเรียนว่าสิ่งต่างๆที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นมาถือว่าเป็นความสำเร็จอีกขั้นของนักเรียน เพราะนักเรียนได้ใช้ความคิดในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นมาจากภายในตัวนักเรียนเอง

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

          เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ตอนแรกถ้าต้องการที่จะให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ผู้สอนจะต้องรู้ก่อนว่า ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร แล้วความคิดสร้างสรรค์สามารถที่จะประยุกต์ออกมาได้อย่างไร เพราะว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่เป็นจินตนาการประยุกต์ ที่สามารถนำไปสู่ความคิดใหม่ทางด้านต่างๆ รวมทั้งทางด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่คนอื่นมักจะคาดไม่ถึง เพราะเป็นความคิดที่ออกมาอย่างหลากหลายรูปแบบ มีความคิดกว้างไกลและเป็นความคิดที่มักจะมีสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
          เทคนิค ในการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะผู้สอนควรที่จะมีสิ่งใหม่ๆเสมอให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในตัวผู้สอนหรือวิชาที่เรียน ผู้สอนควรใช้เทคนิคการสอนที่สามารถเข้ากับผู้เรียนได้ โดยให้ผู้เรียนได้ทำสิ่งที่ตัวเองคิดและต้องการ แต่จะต้องคิดและทำให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน มีการให้คะแนนแก่ผลงานที่ผู้เรียนคิดและทำออกมาดี และจัดให้มีการแข่งขันผลงานระหว่างผู้เรียนด้วยกันภายในห้องเรียน รวมทั้งกระตุ้นคำถามที่ให้ผู้เรียน เกิดความคิดใหม่ๆ และผู้สอนเองก็จะต้องคล้อยตามในสิ่งที่ผู้เรียนคิดออกมา อย่าขัดแย้งมากเกินไปกับความคิดของผู้เรียน เพราะจะทำให้ผู้เรียน หยุดที่จะคิดสร้างสรรค์และแสดงความคิดเห็นออกมา และทำให้ผู้เรียนไม่สนใจในวิชาการเรียนต่อไป

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

         ในการเรียนการสอนผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธีและสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับผู้เรียน กับแต่ละสถานการณ์  และแต่ละสิ่งแวดล้อม การสอนแบบบรรยายอย่างเดียวไม่เพียงพอครูผู้สอนต้องใช้วิธีสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายเข้ามาใช้บูรณาการเป็นการจัดการเรียนการสอน
   เทคนิคการสอนในชั้นเรียน ความจำเป็นในการเลือกใช้เทคนิคในการสอน การเรียนการสอน
                วัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้ซึ่งครูอาจมีวิธีการมากมายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่าครูเลือกใช้วิธีการหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จจึงใช้วีการเดียวกันสำหรับสอนเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้พัฒนาขึ้นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะว่าเด็กมีพื้นฐานต่างกัน ความรู้ความสามารถของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน
                เด็กอาจได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพื่อสนองต่อเด็กกลุ่มที่มีความหลากหลายในห้องเรียนรวม
                แนวคิดในการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนได้แก่
                     1. การเรียนการสอนที่ดี ควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
                     2. เด็กมีความแตกต่างกัน
                     3. เด็กมีความสามารถในการคิดและรับรู้ต่างกัน

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้นสิ่งแรกครูผู้สอนควรมีการเตรียมความพร้อมในการสอนให้กับเด็กก่อน   และก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนครูผู้สอนควรที่จะมีการทดสอบก่อนเรียนหรือมีการเล่นกิจกรรม  เพื่อที่จะให้นักเรียนเกิดการเตรียมความพร้อมและเกิดการกระตือรือร้นในการเรียนด้วย
                ดังนั้นการที่จะให้เด็กเกิดการกระตุ้นและให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้นครูผู้สอนควรที่จะคำนึงถึงสติปัญญา  ความถนัดของแต่ละบุคคลด้วยซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนการสอนของผู้เรียนที่จะส่งผลต่อการเรียนของเด็กในอนาคต
                เพราะฉะนั้นครูควรที่จะมีบทบาทในส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์    คือ
-             ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
-           ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต
-           สนใจและตั้งใจฟังคำถามแปลก ๆ  ของเด็ก
-           ส่งเสริมให้เด็กประสงความสำเร็จ
-           สอนให้เด็กจินตนาการหรือใช้เทคนิคการออกแบบสร้างสรรค์
-           เน้นการจัดกิจกรรมที่ท้าทายและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
-           ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออก

“เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์”

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้น คนที่เป็นครู สามารถที่จะหาเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงออก แสดงความคิดเห็นของนักเรียนเองได้ โดยคนที่เป็นครูจะต้องหาเทคนิคที่เป็นจุดสนใจ หรือมีแรงจูงใจให้กับเด็กนักเรียน ได้แสดงออก แสดงความสามารถของตนเองออกมา โดยมีครูคอยเป็นที่ปรึกษา คอยชี้แนะ วิธีการต่างๆ ให้กับเด็กนักเรียน
เทคนิควิธีการสอนเพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีหลายวิธี โดยที่ครูสามารถที่จะเลือกใช้ให้กับเด็กนักเรียนได้แสดงออก ถึงความสามารถ ครูผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน สังเกตถึงความถนัดของนักเรียนแต่ละคน ว่ามีความถนัดในเรื่องใดบ้าง และครูควรที่จะส่งเสริมให้เด็กนักเรียนแต่ละคนว่ามีความถนัดด้านใดบ้าง และครูควรที่จะส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้แสดงความสามารถของตนเอง ตัวอย่างเช่น ให้เด็กนักเรียนได้เรียนวิชาศิลปะ โดยให้เด็กนักเรียนวาดภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา  ว่ามีอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนได้คิดของตังเองแสดงความคิดของตัวเองว่าจะวาดรูปอะไรบ้าง ซึ่งครูจะต้องทำตัวอย่างให้นักเรียนดู คอยเป็นที่ปรึกษา ชี้แนะวิธีการต่างๆ ให้นักเรียนสามารถมองเห็นภาพ ว่ามีขั้นตอนหรือวิธีการอย่างไรบ้าง การที่ครูจะมอบหมายงานให้เด็กนักเรียนได้ปฏิบัติจะต้องดูความสามารถ ความถนัดของแต่ละคน ว่ามีความสามารถด้านใด เมื่อรู้ว่าเด็กนักเรียนแต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน ครูจะต้องหาเทคนิค วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเด็กนักเรียน โดยครูให้เด็กนักเรียน ได้ปฏิบัติเอง ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แสดงออกถึงความถนัดของตนเอง
ดังนั้น  ครูควรมีเทคนิคหรือวิธีการในการสอนเพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  โดยครูสามารถหาเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กนักเรียน ทั้งนี้ คนที่เป็นครูจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับศิษย์ และให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือได้เรียนรู้จากนอกสถานที่ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ หรือจัดประสบการณ์ การเรียนการสอน ให้นักเรียนได้ดู ได้สัมผัสกับเหตุการณ์จริง จะทำให้เด็กนักเรียนสามารถแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตัวเองออกมา.

เทคนิคการสอนเพื่อกรตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

               เทคนิคการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  ถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพราะเทคนิคนี้เป็นการฝึกเด็กทางสติปัญญาให้มีความคิด วิเคราะห์ ให้เด็กรู้จักที่จะตั้งคำถามแปลกใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหลายแง่ หลายมุม เกิดความคิดที่ทำให้เด็กรู้ความเป็นจริงมากขึ้น
                การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่มีการยอมรับ มองเห็นคุณค่าในตัวเอง ผู้เรียนนั้นเป็นบุคคลที่สำคัญมีคุณค่าและสามารถเรียนได้  ผู้สอนควรแสดงการยอมรับอย่างจริงใจและต้องเชื่อมั่นว่าสามารถทำสำเร็จ  บรรยากาศการเรียนการสอนแห่งความสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้สอนสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ  ปลอดภัย  อิสระ ยอมรับ นับถือว่าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการกระทำ
                ดั้งนั้น การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นบรรยากาศที่มีความหลากหลายในตัวเอง การไว้วางใจ การให้อิสระเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดการพัฒนา เกิดความคิดสร้างสรรค์และความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

บทบาทของครูยุคใหม่ ต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสอนเน้นการบรรยายมาเป็นการกระตุ้น การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิด การสอนเพื่อพัฒนาการคิดมีรูปแบบ วิธีสอน เทคนิคการสอนมากมาย รวมทั้งชุดสำเร็จเพื่อการพัฒนาการคิด เทคนิคที่ใช้การสอนคิด เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก โดยมีทักษะคิดประเภทให้ข้อเท็จจริง ให้ความรู้ คิดเพื่อแสดงความรู้สึก อารมณ์ คิดเพื่อบอกข้อบกพร่อง ข้อไม่ดี ข้อผิดพลาด คิดเพื่อบอกข้อดี ข้อเด่น เพื่ออธิบายคุณค่า คิดเพื่อแสดงความคิดใหม่ๆ มีทักษะในการควบคุมการคิดของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการ
1.   เตรียมความพร้อมในการสอน
 2.  กำหนดเทคนิควิธีสอนและกิจกรรมการสอนที่สอดคล้องกับข้อ 1. โดยเลือกใช้เทคนิควิธีสอนที่หลากหลาย
3.   สำรวจแหล่งเรียนรู้
3.1    กำหนดสื่อการเรียนรู้
               3.2  กำหนดวิธีการและเครื่องมือวัดผลประเมินผลที่หลากหลายรูปแบบครอบคลุมทั้งพุทธิพิสัย  ทักษะพิสัย จิตพิสัย เน้นการประเมินตามสภาพจริง
                               การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1)    ขั้นนำ จัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้
2)    ขั้นจัดกิจกรรม จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุดในลักษณะ
3)    ขั้นวิเคราะห์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอภิปราย
4)    ขั้นสรุปและประเมินผล เป็นการสรุปผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้การประเมินด้วยวิธีหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง


            คำถามเป็นสิ่งสำคัญที่จะจุดประกายให้ผู้เรียนใคร่เรียนใคร่รู้ใคร่แสวงหาความรู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด การตั้งคำถามเป็นการช่วยให้ครูผู้สอนสามารถกระตุ้นผู้เรียนให้คิดเป็นได้ เพราะผู้เรียนจะคอยคิดตอบปัญหาที่ผู้สอนถามอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการใฝ่หาความรู้เพื่อนำมาตอบคำถามของผู้เรียนนั้น จะปลุกให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

“เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์”

                            เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา และสภาพแวดล้อมอื่นๆแล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นความรู้เรื่องเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น ผู้สอนในยุคโลกาภิวัตน์
         สำหรับเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันและใช้ได้ผล ประกอบด้วยเทคนิคการสอนดังต่อไปนี้
          1. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกันหรือทำงานเป็นกลุ่ม
เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือ กันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกัน สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคน นอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะใน ชั้นเรียนผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทบทวน อธิบาย
         2. เทคนิคการสอนแบบระดมสมอง
ลักษณะสำคัญ ผู้เรียนจะแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อช่วยกันคิดหาคำตอบ สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง ซึ่งข้อดีของการสอนแบบระดมสมองสามารถ ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาและ ส่งเสริมการร่วมมือได้
       3. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
เป็นวิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ในชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือนจริงที่สุด ทำการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลถึงผู้เรียนด้วย
      4.   การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ผู้เรียนเป็นคนสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนและผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด ปัจจุบันแนวคิดการสรรค์สร้างความรู้ได้รับการยอมรับอย่าง แพร่หลายว่ามีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากที่สุด

                                                                                                                               

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

การเรียนการสอนมีความจำเป็นมากในปัจจุบันในการนำเทคนิคการสอนเข้ามาใช้ในการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น การสอนที่พบว่าหลังจากเด็กได้รับความรู้ หรือมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้
          ครูอาจมีวิธีการมากมายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จ จึงใช้วิธีการเดียวกันนี้สำหรับสอนเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้พัฒนาขึ้นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะว่าเด็กมีพื้นฐานต่างกัน ความรู้ความสามารถของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน  เด็กอาจได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่เต็มที่ ถ้าหากครูใช้วิธีการสอนเช่นนั้น ดังนั้นครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม เพื่อสนองต่อเด็กกลุ่มที่มีความหลากหลายในห้องเรียน
-ส่งเสริมให้เด็กถาม และให้ความสนใจต่อคำถาม และคำถามที่แปลก ๆ ของเด็กครูไม่ควรมุ่งที่คำตอบที่ถูกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์ค้นหาโดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของตัวเด็กเอง
               -ตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อการคิดแปลก ๆ ของเด็ก ด้วยใจเป็นกลาง เมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ควรรับฟังไว้ก่อน
               - กระตือรืนร้นต่อคำถามที่แปลก ๆ ของเด็กด้วยการตอบคำถามอย่างมีชีวิตชีวาและชี้แนะให้เด็กหาคำตอบจากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
                 -แสดงและเน้นให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่า และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น จากภาพที่เด็กวาด อาจให้นำไปเป็นภาพปฏิทิน ส.ค.ส. เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะคิดสร้างสรรค์ต่อไป
              - กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะลดบทบาทของการชี้แนะและลดการอธิบายลง ให้เด็กมีโอกาสริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเองมากขึ้น และยกย่องเด็กที่พยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง
              - เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ หรือค้นคว้าอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยไม่ต้องใช้วิธีบีบบังคับด้วยคะแนน
              -พึงระวังว่าการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กต้องใช้เวลาและพัฒนาอย่างคอยเป็นค่อยไป
              -ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเองและยกย่องชมเชย เมื่อเด็กมีจินตนาการที่แปลกกว่าคนอื่น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคนิคการสอนเทคนิคการสอน คือกลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใด ๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยายผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญสำหรับครูที่ต้องสอนผู้เรียนนั้น ครูจะต้องสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูยน์กลางหรีอ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้โดยเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต