วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียน การสอนอย่างไรบ้าง

แนวทางในการจัดการเรียน  การสอนที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นจะต้องจัดการเรียน  การสอนให้สอดคล้องกับข้อจำกัดหลาย ๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม  วัฒนธรรม  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณี  เศรษฐกิจ  รวมไปถึงระบอบการเมืองการปกครองของที่นั้นซึ่งถ้าจัดการเรียน การสอนที่ไม่สอดคล้องกับข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว  ผลสำฤทธิ์ทางการเรียน การสอนที่ออกมาอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร
การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการเรียน การสอนนั้น  จะทำให้เรารู้จุดมุ่งหมายของการสอนว่าควรจะเป็นอย่างไร  และมีวิธีดำเนินการอย่างไร  เพื่อที่จะได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้  อีกทั้งทำให้เราในฐานะผู้สอนสามารถที่จะวางแผนในการสอนได้ง่ายขึ้นด้วย
ปรัชญาการศึกษาจะช่วยทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้มาก  เพราะปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทางสำหรับการเรียนการสอนที่ครูสามารถนำมาใช้ในการเรียน  การสอนได้จริง

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร

          ปรัชญาการศึกษา  หมายถึง  แนวความคิด  หลักการ  และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา  ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา  ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน  ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ  ชัดเจน  และสมเหตุสมผล
          การที่เราจะนำเอาปรัชญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ โดยถ้าเรามองเห็นปัญหาของการศึกษา เราก็เอาปัญหานั้นมาปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น และอาจจะยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อที่จะได้ว่าเห็นถึงปัญหาของนักเรียน และนำมาพัฒนานักเรียนให้เกิดผลสำเร็จได้

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร

ปรัชญาการศึกษา คือ การค้นหาความเข้าใจในเรื่องการศึกษาทั้งหมด การตีความหมายโดยการใช้ความคิดรวบยอดทั่วไปที่จะช่วยแนะแนวทางในการเลือกจุดมุ่งหมายและนโยบายของการศึกษา
               
การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือ การจัดการเรียนการสอน อับดับแรก เราจะต้องทราบก่อนว่าปรัชญาการศึกษา คืออะไร หมายถึงอะไร มีความหมายอย่างไร และสามารถที่จะนำมาใช้อย่างไรปรัชญาการศึกษา คือ ความรักในปัญญา ความรักในความรู้ ความรักในวิชาการ เป็นต้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้  มุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ ได้คิด และได้พัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกับความพร้อมและความต้องการของผู้เรียน วิธีสอนอาจมีทั้งการอภิปราย ทดลอง ทำโครงการ การสาธิตฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน ได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ได้พัฒนาความคิดและวิธีการในการแสวงหาความรู้ต่อไป
ดังนั้น  การนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนต้องมีกลวิธีต่างๆ เช่น กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำเพื่อให้วิธีเหล่านี้ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น การบรรยาย  การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น เพื่อที่ให้ผู้เรียน ได้ไปตามสิ่งที่ครูจัดไว้  ครูจะต้องเข้าใจในตัวของผู้เรียนก่อน และครูจะต้องพัฒนาผู้เรียนในเกิดสติปัญญา และมีคุณธรรมจริยธรรมด้วย


วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ ซึ่งแต่ละสังคมจะมีแนวทางในการจัดการศึกษาที่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดหรือความเชื่อในการจัดการศึกษานั้นๆ โดยแต่ละสังคมมีการนำปรัชญามาใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง กำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป
                การจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักปรัชญาพิพัฒนิยม  เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยที่ครูไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ในการแนะแนวทางให้แก่ผู้เรียน แล้วจัดประสบการณ์ที่ดีที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน อีกทั้งครูจะต้องมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง รู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดีและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และมีการวางแผนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของผู้เรียน จัดสภาพในโรงเรียนและในห้องเรียนให้พร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนให้ได้ประสบการณ์ตามที่ต้องการ หรือเป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์นั่นเอง

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

ปรัชญาเป็นแนวคิดในการกำหนดด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่  การศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด
การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมจะฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเลือกวิชาที่เรียนอย่างมีความรับผิดชอบ ครูจะเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนแต่ละคนใช้เสรีภาพในการเลือกเรียนอย่างถูกต้องและเหมาะสมการจัดการเรียนการสอน มีการจัดการสอนหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความถนัดและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตนเอง เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

การจัดการเรียนการสอนมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ไม่ว่าด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์ และสังคม
เทคนิคการสอนที่ช่วยกระตุ้นความคิดของผู้เรียนให้คิดอย่างสร้างสรรค์  ครูควรจัดการสอนโดยให้ เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ไม่ว่าจะถูกหรือผิดครูควรรับฟังความคิดเห็นก่อน ไม่ใช่ด่วนสรุปว่าคนนี้แสดงความคิดเห็นนอกกรอบและผิดประเด็น และในสิ่งที่เด็กแสดงออกความคิดเห็นออกมานั้นถูกหมด ขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำหนักของเนื้อหาว่ามากหรือน้อยแต่อย่างใด  อีกทั้งครูผู้สอนควรหมั่นซักถามเด็กเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก  และเปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์นั้น  ต้องไม่บีบบังคับและควรมีการพัฒนาเด็กต่อไป  ส่งเสริมให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการของตนเอง และมีการเสริมแรงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้น  หากประสบความสำเร็จ ก็ถือได้ว่าครูนั้นประสบความสำเร็จตามไปด้วย เพราะสามารถสร้างให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  สามารถต่อยอดความรู้ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

เทคนิคการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์มีความมั่นใจในตนเอง มีความกล้าแสดงออก และเป็นคนที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป
การจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ควรเริ่มจากการสร้างบรรยากาศในการเรียนที่จะส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น ความถนัดของเด็ก สิ่งแรกที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึง คือ ทำอย่างไรให้เด็กมีความสนใจต่อการเรียนการสอนเพื่อนำสู่ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์   โดยการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ไม่ว่าในห้องเรียน นอกห้องเรียน ควรจัดบรรยากาศให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น การจัดนิทรรศการตามป้ายนิเทศ โดยต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้จัดป้ายนิเทศเองและมีการเปลี่ยนเรื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสังเกตและเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพราะการส่งเสริมความคิดนั้นไม่จำเป็นต้องนั่งคิดในห้องเรียนเสมอไป เราสามารถศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆได้อีกด้วยและเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถก็จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้คิดอย่างสร้างสรรค์ในการจัดป้ายนิเทศ ครูไม่ควนไประบุเจาะจงว่าเรื่องนี้ต้องได้อย่างนี้ตามที่ครูได้วาดไว้ ครูควรให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด ความสามารถด้วยตัวเอง โดยที่ครูเป็นแค่ผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

           เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการที่จะเข้ามาทำการพัฒนาประเทศชาติ  ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  การที่จะทำให้ประชากรในประเทศมีคุณภาพมากขึ้น คือ การจัดระบบการศึกษาที่มีมาตรฐาน    การจัดการศึกษาของชาตินั้นจะต้องสอดคล้องกับนโยบายทั้งสามด้านที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้   ถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลงระบบทั้งสาม การจัดการศึกษาของชาติก็จะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  ซึ่งแต่ละสังคมแต่ละประเทศชาติก็จะมีแนวทางในการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน  
สำหรับแนวความคิดหรือความเชื่อในการจัดการศึกษาก็คือ ปรัชญาการศึกษา ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมักจะยึดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือปรัชญาของการศึกษาที่แตกต่างกันไปตามความเป็นอยู่ของสังคมและสถานการณ์ทางสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย การจัดการศึกษาของประเทศใดถ้าไม่ยึดการศึกษาที่ถูกต้องก็ไม่มีทางที่จะทำให้ประเทศเจริญไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ จึงทำให้ปรัชญาทางการศึกษา  เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเข้ามากำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศชาติของประเทศนั้นๆ  ดังนั้นในการนำปรัชญาการศึกษามาใช้ จำเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบของการศึกษาด้วย  ซึ่งองค์ประกอบของการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
1.             หลักสูตร ไม่กำหนดตายตัว แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น
      2.  ครู ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว ให้เข้าใจตนเอง ให้สรีภาพ และเคารพในศักดิ์ศรี  ของผู้เรียน
     3.  ผู้เรียน ถือว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษา
     4.  โรงเรียน ต้องสร้างบรรยากาศทั้งในและนอกห้องเรียนและจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิด   ความพอใจที่จะเรียน
     5.  กระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ให้ผู้เรียนพบความเป็นจริงด้วยตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเอง

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

           เทคนิคการสอนสำหรับดิฉัน  การศึกษาที่สำคัญยิ่งที่มีผลต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง   คนดี  ได้นั้นครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาททำให้ผู้เรียนสามารถเป็นคนดี  คนเก่ง  ครูยุคใหม่ต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสอน  เน้นการบรรยายมเป็นการกระตุ้น  เปิคโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดมีรูปแบบวิธีสอนเทคนิคการสอน  ฉะนั้นการปฏิรูปการเรียนคือหัวใจของการปฏิรูปการสอนเป็นอันดับแรก
           การปฏิรูปการศึกษาการเรียนรู้จึงควรเริ่มที่สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเทคนิคที่ใช้ในการสอนคิดเพิื่อพัฒนาให้ผู้เรียนกล้าคิด  กล้าแสดงออก  โดยมีทักษะคิดประเภทให็ข้อเท็จจริงให้ความรู้  คิดเพื่อแสดงความรู้สึกอารมณ์ คิดเพื่อแสดงความคิดใหม่ๆ  เทคนิคการสอนนี้ที่น่าสนใจวิธีหนึ่งคือ  การใช้คำถาม  เช่น  การใช้คำถามแสดงความคิดเห็น  การตั้งคำถามเป็นการช่วยให้ครูผู้สอนสามารถกระตุ้นผู้เรียนให้คิดเป็นได้  เพราะผู้เรียนคิดตอบปัญหาที่ผู้สอนถามอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับการใฝ่หาความรู้เพื่อนำมาตอบคำถามของผู้เรียนจะปลูกให้ผู้เรียนอยากเรียนอยู่ตลอดเวลาและอีกอย่างหนึ่ง  ในการตอบคำถามแต่ละครั้งนั้น  เราควรให้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กที่มีความตั้งใจในการเรียนให้มากขึ้น  และควรจัดการเรียนรู้จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีการประกันคุณภาพภายในผสมผสานอยู่ในกระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นส่วนที่สำคัญ  เช่น
     ๑. เปิดโอกาสให็ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้มากที่สุด
     ๒. เน้นความร่วมมือซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
     ๓. เน้นการประเมินตนเอง  การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพือให้ผู้เรียนได้เหจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
     ๔. เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง
     ๕. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่่มีผลต่อการพัฒนาคน ให้เป็นคนเก่ง  คนดีได้ ทุกสถานศึกษาจะต้องเลิกการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง  แต่เปลี่ยนเป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาลแทน  หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้.............

ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาของชีวิตและจักรวาลเพื่อหาความจริงอันเป็นที่สุด ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และสรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการกฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา และเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจนและสมเหตุสมผล
และเรานำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน แนวคิดพื้นฐานปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมมาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่าจิตเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคน การที่จะรู้และเห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด อีกฝ่ายหนึ่งก็คือ วัตถุนิยม ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องวัตถุนิยมวัตถุในธรรมชาติที่เราเห็นสัมผัส หรือมีประสบการณ์ต่อสิ่งเหล่านั้น ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นเนื้อหาหรือสาระ นักเรียนจะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง เป็นการอนุรักษ์ และถ่ายทอดทางวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไว้

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

             ในแต่ละสถานศึกษาจะประกอบด้วยสมาชิกที่สำคัญนั้นก็คือ ครู และนักเรียน อาจกล่าวได้ว่าครูมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้นสถานศึกษาและครูต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพทั่วไปของนักเรียน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนนั้นจะให้เกิดผลดีต่อตัวนักเรียนมากที่สุดอาจต้องอาศัยแนวคิด ทฤษฎีต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ปรัชญาการศึกษา
             อาจกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษา มีความสำคัญมากต่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพราะโรงเรียนต้องยึดแนวคิด หลักการ และทฤษฎีต่างๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นในด้าน การนำความรู้ด้านการพัฒนาผู้เรียนทำอย่างไรให้เด็กมีความรู้ในเนื้อหาที่ได้เรียนอย่างแท้จริง หรือในด้านการคิดวิเคราะห์ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่ครูจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนักเรียนขึ้นมาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนมากที่สุด
                ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปรัชญาการศึกษามีบทบาทสำคัญมากต่อการจัดการเรียนการสอน หากเราได้นำมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้อย่างเมาะสม

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

              
 ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ครูทุกคนมีความปรารถนาให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ แต่สิ่งที่จะทำให้ผู้เรียนมีความแตกต่างและโดดเด่น น่าจะเป็นในด้านความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดถ้าเป็นพ่อค้าความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้สินค้าเป็นที่ต้องตา ต้องใจได้ดีมากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้วิธีการขายจูงใจมากขึ้น ถ้าเป็นครูความคิดสร้างสรรค์จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กสนุก แปลกใหม่ และเด็กๆเรียนรู้ได้ดีขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการที่จะพัฒนาเทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
                การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสติปัญญา เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆยอมรับความคิดที่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม และกล้าที่จะคิดนอกกรอบนั้น ครูหรือผู้สอนมีบทบาทสำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเทคนิคการสอน
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครู มีเทคนิควิธีการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นนั้น คือ จะใช้เทคนิคการสอนให้นักเรียนเปรียบเทียบสิ่งของหรือสถานการณ์ที่เหมือนกัน คล้ายคลึงกันแตกต่างหรือตรงกันข้าม อาจอยู่ในรูปคำเปรียบเทียบ คำพังเพย สุภาษิต ก็ได้ เช่น ลองคิดดูว่า ขวดกับเสาธงมีลักษณะเหมือนกันอย่างไร โดยให้ผู้เรียนวาดสิ่งที่ตนเองนำมาเปรียบเทียบตรงไหนก็ได้ที่ตนเองพอใจและยกย่องชมเชย เมื่อผู้เรียนมีจินตนาการที่แปลกกว่าคนอื่น
                การพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นั้น ครูต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความคิดที่แตกต่าง ได้เล่นอย่างเสรี และไม่ถูกสกัดกั้นที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป และความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ดีในบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์เท่านั้น มีวิจัยหลากหลายที่สรุปได้ว่า บรรยากาศที่ไม่มีกฎระเบียบมากเกินไป และบรรยากาศที่ยอมรับและยกย่องเสรีภาพจะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมาก

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
เรียบเรียงโดย นายอ๊ะหมัด  ดอละ
นศ.ป.บัณฑิต วิชาชีพครู (วันเสาร์)
สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์ภาคใต้ ยะลา

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก  โดยทั่วไปปรัชญาการศึกษาจะมุ่งศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษา  โดยกำหนดหลักการกว้างๆ ไว้  ส่วนทฤษฎีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาหลักการจากปรัชญาสาขาใดสาขาหนึ่ง  หรือหลายสาขามาสร้างเป็นทฤษฎีการศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ  ([1])  
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาช่วยให้การจัดการศึกษามีระบบและสมเหตุสมผลที่กำหนดภาพรวมได้ ซึ่งปรัชญาการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษามี 5 ลัทธิ ได้แก่ ลัทธินิรันตรนิยม (Perennialism) สารัตถนิยม (Essentialism) พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) บูรณาการนิยม (Reconstructionism) และอัตภาวะนิยม (Existentialism) ([2])
สำหรับประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมในผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
          ปรัชญาหรือทฤษฎีการศึกษาดังกล่าวจะมีแนวทางในการนำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่าง มีจุดเน้น จุดเด่น จุดด้อย ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไปสามารถเลือกและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษา หลักในการจัดการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละสังคมได้ การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาจะต้องพิจารณาว่าแนวทางใดจึงจะดีที่สุดซึ่งจะต้องคำนึงให้สอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง เป็นต้น ปรัชญาการศึกษาลัทธิหนึ่งอาจจะเหมาะกับประเทศสังคมหนึ่ง ส่วนสังคมหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันต้องใช้ลัทธิการศึกษาอีกลัทธิหนึ่งหรืออาจจะผสมผสานบูรณาการกันก็ได้


([1]) เว็บไซต์ วันที่ 1 พ.ค. 2554 : http://www.wijai48.com/learning_stye/ed_theory.htm  
([2]) จิตรกร ตั้งเกษมสุข. (2525). พุทธปรัชญากับปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : บางกอกการพิมพ์. หน้า 22 , 25

เราจะนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

          การนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน อับดับแรก เราจะต้องทราบก่อนว่าปรัชญาการศึกษา คืออะไร หมายถึงอะไร มีความหมายอย่างไร และสามารถที่จะนำมาใช้อย่างไรปรัชญาการศึกษา คือ ความรักในปัญญา ความรักในความรู้ ความรักในวิชาการ เป็นต้น      
          การนำปรัชญาการศึกษา มาใช้ในการจัดการการสอน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับครูและเน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนเป็นสำคัญ  เพราะว่าครูจะเป็นผู้อธิบายชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจ  จากนั้นก็จะให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม โดยวิธีการเรียนการสอน จะเน้นการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก  เพื่อที่จะให้ผู้เรียนคิดตามและสามารถแสดงความคิดเห็น และจะกระตุ้นให้ผู้เรียน เป็นตัวของตัวเองมาที่สุด รวมทั้งฝึกฝนการเป็นผู้นำในกลุ่ม  ซึ่งจะเป็นการฝึกให้มีระเบียบวินัย  ควบคุมและรักษาตนเองได้  เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้เรียนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มหรือของห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกให้ผู้เรียน  พร้อมมีความรู้จักและเข้าใจสังคมเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้

เพื่อที่ให้ผู้เรียน ได้ไปตามสิ่งที่ครูจัดไว้  ครูจะต้องเข้าใจในตัวของผู้เรียนก่อน และครูจะต้องพัฒนาผู้เรียนในเกิดสติปัญญา และมีคุณธรรมจริยธรรมด้วย

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

                ในการเรียนการสอนในแต่ละคาบ / ในแต่ละชั่วโมงในการสอนควรจะมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความสมดุลกันในสมัยปัจจุบันนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกล้าคิด กล้าทำ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง ฯลฯ การปฏิรูปการเรียน คือ หัวใจของการปฏิรูปการเรียนการสอนเป็นอันดับแรก โดยครูจะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฯลฯ
                ในการเรียนการสอนในแต่ละคาบในการสอน ครูจะมีเทคนิคในการเรียนการสอนเสมอเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออกสามารถตอบคำถามได้ในสิ่งที่ครูถาม ถึงแม้เด็กอาจจะตอบคำถามได้ไม่ตรงประเด็น และในการตอบคำถามของเด็กแต่ละครั้ง เราควรให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กมีความตั้งใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องที่เราสอน และเด็กก็สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการปฏิรูปเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ฯลฯ
                1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้มากที่สุด
                2.เน้นความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
                3.เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้าง สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
                4.เป็นการพึ่งพาตนเองเพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
                5.เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบกลุุ่มหรือรายบุคคล
                6.เน้นความร่วมมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
                7.เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง รู้จุดเด่น จุดด้อย และพร้อมเข้าใจจะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
                 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปการเรียนการสอนในสมัยนี้ จึงเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งเพื่อให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในสิ่งที่ครูถาม ฯลฯ ตลอดจนเป็นคนเก่งคนกล้า โดยการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นสำคัญ
            

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

ปรัชญาการศึกษาการเรียนการสอน เน้นการใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อในการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนจึงเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่  ซึ่งได้แก่การฟัง การจดจำ จากการบรรยายของครู การอ่านหนังสือ การค้นคว้าจากตำราและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ห้องเรียนกับห้องสมุดจึงเป็น  หัวใจของกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน  การเรียนการสอนจะเน้นการเรียนในห้องเรียนและ  ห้องสมุดมากกว่าการศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา  เพราะถือว่าผู้เรียนสามารถอ่านและทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ จากหนังสือได้โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์โดยตรง บทบาทของครูตามแนวปรัชญาสาขานี้ถือว่าครูคือแม่พิมพ์เป็นต้นแบบที่ดีทั้งด้านความรู้และความประพฤติ ต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้โดยใช้สัญลักษณ์ได้ดีมีประสิทธิภาพ

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

นักวิชาการด้านการศึกษาได้ให้คำจำกัดความของคำว่า  การศึกษา  มากมายหลายคำนิยม  เช่น  การศึกษาคือชีวิต  การศึกษาคือการตระเตรียมการดำรงชีวิต  การศึกษาคือความเจริญงอกงาม  การศึกษาคือการถ่ายทอดวัฒนธรรม  การศึกษาคือการทำให้คนเจริญขึ้น  และ ฯลฯ  การที่นิยามความหมายของคำว่า  การศึกษา  ต่าง ๆ กัน ก็เนื่องมาจากบางคนพิจารณาการศึกษาในฐานะจุดหมายปลายทางของชีวิต  บางคนนิยามการศึกษาในบานะกระบวนการ บางคนกำหนดความหมายในลักษณะที่เป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งของสังคม
            การศึกษาเป็นการพัฒนาบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง  เราอาจพิจารณาความหมายของการศึกษาได้เป็น ๒ แนวคือ
                        .  ความหมายในแนวกว้าง ถือว่าการศึกษาเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต         มีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมชีวิต บุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์             เป็นการศึกษาจากประสบการณ์ทั้งมวล ตามแนวนี้การศึกษามิได้จำกัดอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น สถาบัน
ทางสังคมอื่น ๆ เช่น บ้าน วัด สื่อมวลชน และ ฯลฯ ต่างก็มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของบุคคล
                        .  ความหมายในแนวแคบ  ถือว่าการศึกษาเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ และค่านิยมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  โดยผ่านสถาบันทางสังคมที่มีหน้าที่จัดการศึกษา เช่น  โรงเรียน ความหมายตามแนวแคบนี้เป็นความหมายที่เราเข้าใจกันโดยทั่วไป
            การศึกษาไม่ว่าจะนิยามความหมายว่าอย่างไร มีลักษณะสำคัญอยู่ ๓ ประการคือ
                        .  การศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปในแนวทางที่ปราดรถนา
                        .  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้  เป็นไปโดยจงใจ  โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดไว้
                        .  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ กระทำเป็นระบบ มีกระบวนการอันเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคมที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ด้านการศึกษา

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

ปรัชญาการศึกษาเป็นที่มาหรือหลักยึดในการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของครู  ครูควรให้ความสนใจในหลักการมิใช่มุ่งความสนใจไปที่เทคนิควิธีการสอนเท่านั้น  ครูพึงศึกษาแนวคิด  ความเชื่อหรือหลักการต่าง ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายและเลือกสรรสิ่งที่ตนเชื่อถือ  หมั่นวิเคราะห์การคิดและการกระทำของตนว่าสอดคล้องกันหรือไม่  เปิดโอกาสให้ตนเองได้มีประสบการณ์ในสิ่งที่แตกต่างออกไปเพื่อพิสูจน์ทดสอบแนวคิดใหม่ๆอันอาจจะนำมาซึ่งทางเลือกใหม่  ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   นอกจากนั้นแล้วสถาบันที่ผลิตครูควรสอนโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการให้แม่น มิใช่มุ่งเน้นแต่เทคนิคของการปฏิบัติเนื่องจากการปฏิบัติและการแก้ปัญหาโดยขาดความรู้  ความเข้าใจและความเชื่อในหลักการแล้วย่อมจะเกิดปัญหาในภายหลัง

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง?

                    ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาทั่วไปอันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใดๆ ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการต่างๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความเชื่อนั้นๆ    
                    การจัดการเรียนการสอนสามารถนำปรัชญาการศึกษาต่างๆ    มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการจัดการเรียนการสอน    ซึ่งปรัชญาการศึกษา  มี   5  ลัทธิ แต่ละปรัชญาจะมีแนวทางในการนำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน  การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา  จะต้องพิจารณาว่าแนวทางใดจึงจะดีที่สุด  และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม     เช่น   ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม  มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว  ความสามารถในการจำ  ความสามารถในการคิด  ความสามารถที่จะรู้สึก  ฯลฯ   และปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม  มีความเชื่อว่าบุคคลสามารถแสวงหาความรู้ได้จากประสบการณ์   จะเห็นได้ว่าทั้ง  2  ปรัชญามีความเชื่อที่แตกต่างกัน   และแนวทางการปฏิบัติก็แตกต่าง   จึงต้องพิจารณาแนวทางการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนให้เหมาะสม     เนื่องจากการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาจะมีวิธีการสอนที่แตกต่างกัน  เช่น   ในรายวิชาคณิตศาสตร์   สามารถนำปรัชญาสารัตถนิยมมาใช้เพราะการจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีการท่องจำในเรื่องสูตรคณิตศาสตร์   และในรายวิชาวิทยาศาสตร์  สามารถนำปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมมาใช้เกี่ยวกับการให้ความรู้จากประสบการณ์  กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์จากการทดลอง    เป็นต้น
                           ดังนั้น  จะเห็นได้ว่า   ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญในการจัดการเรียน
การสอน   เพราะเป็นแนวทางและกำหนดวิธีการสอนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ
การเรียนการสอนได้

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง ?


ปรัชญาการศึกษาคือ แนวความคิด  หลักการ  และกฏเกณฑ  ในการกําหนด
แนวทางในการจัดการศึกษา   ซึ่งนัการศึกษาไดยึดเปนหลักในการดําเนินการทางการศึกษาเพื่อให
บรรลุเปาหมาย 
ปรัชญาจะช่วยพิจารณาและกําหนดเป้าหมายทางการศึกษา เนื่องจากการศึกษาเป็นกิจกรรมที่
ทําให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่พึงปรารถนา ปรัชญาจะช่วยกําหนดแนวทางหรือ
เป้าหมายที่พึงปรารถนา ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม
ฯลฯ และปรัชญาจะช่วยใหเห็นว่าเป้าหมายทางการศึกษาที่จะเลือกนั้นจะมีความสอดคล้องกับการมีชีวิตที่ดีหรือไมชีวิตที่ดีควรเป็นอย่างไร
                สรุปว่าปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธกันอย่างมาก ปรัชญาช่วยให้เกิดความ  
ชัดเจนทางการศึกษาและทําใหนักศึกษาสามารถดําเนินการทางการศึกษาไดอย่างถูกต้องรัดกุม
เพราะไดผ่านการพิจารณา วิพากย วิเคราะหอยางละเอียดทุกแงทุกมุม ทําใหเกิดความเข้าใจอย่าง
ชัดเจน ขจัดความไมสอดคล้อง และหาทางพัฒนาแนวคิดใหม ใหกับการศึกษา

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร

     ปรัชญาการศึกษาเมื่อพิจารณามีความสัมพันธ์กันและนำไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง อาจกล่าวได้ว่า
     ปรัชญาการศึกษาเป็นการกำหนดแนวทางหรือกิจกรรมให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางสังคม เศษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาช่วยให้เกิดความชัดเจนทางการศึกษาและทำให้นักเรียนสามารถดำเนินทางการศึกษาให้ถูกต้องรัดกุม เพราะได้ผ่านการพิจารณา วิพากย์ วิเคราะห์อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ขจัดความไม่สอดคล้องและพัฒนาแนมคิดใหม่ๆในการเรียนการสอน
     ดังนั้น ปรัชญาการศึกษาเมื่อนำมาใช้ในการสอนแล้วจะทำให้เรามองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจนและทำให้การศึกษาบรรลุไปตามเป้าหมายอีกด้วย
                                                                                                       
                                                                                                                  นางสาวพรรณ์นี  แก้วแสงสุข
                                                                                                                   รหัส 5316417008

เราจะนำปรัชญาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร


ปรัชญาการศึกษา  คือ  แนวความคิด  หลักการ  และกฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา  เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ปรัชญาการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม  สามารรถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ  การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา  ในการเรียนการสอน  ครูจะต้องหาปรัชญาเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน  เช่น  การพิจารณาดูการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ่ง  ทุกแง่ทุกมุม  เข้าใจถึงแนวคิดหลัก  สอน และครูจะต้องเป็นผู้อธิบายชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจ   วิธีการเรียนการสอนควรเป็นการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก ทำให้นักเรียนสามารถดำเนินการทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องรัดกุมเพราะได้ผ่านการพิจารณาและการบรรยายการอธิบายมาแล้ว  การศึกษาควรมุ่งพิจารณาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว  เช่นความสามารถในการจำ  ความสามารถในการคิดฯลฯ  ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก  การศึกษาจะต้องมาจากครูเท่านั้น  ครูจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้  เพราะครูเป็นผู้ที่รู้เนื้อหาที่ถูกต้องที่สุดเป็นผู้กำหนดกิจกรรม  กำหนดมาตรฐานและเป็นต้นแบบที่ดี
ดังนั้น  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดและถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลังและผู้เรียนจะต้องเชื่อทั้งคำสอนของครู