วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์


     การจัดการเรียนการสอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน เราในฐานะครูผู้สอนควรเลือกเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เด็กไทยได้รับการพัฒนาในทุกๆด้านและเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
     เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถของเด็ก ทักษะและแรงจูงใจ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไปอาจจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม กรรมพันธุ์ เป็นต้น ดังนั้นครูผู้สอนควรใช้เทคนิคการสอนที่มีความหลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ โดยครูมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ทำการสอนโดยให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในที่นี้ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กเผชิญชะตากรรมอยู่คนเดียวแต่เราในฐานะครูควรสังเกตการณ์อยู่ด้วยและคอยให้คำปรึกษา คำชี้แนะให้แก่เด็ก โดยไม่เลือกเฉพาะเจาะจงหรือให้ความสำคัญกับเด็กคนใดคนหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้ความเสมอภาคกับเด็กทุกๆคน ให้มีโอกาสได้ซักถามในสิ่งที่ขับข้องใจ แสดงความคิดเห็น ไม่ตัดโอกาสการแสดงความคิดเห็นของเด็ก เพราะเด็กแต่ละคนมีความคิดหรือมีจินตนาการที่แตกต่างกัน บางทีเราอาจจะให้เด็กทำเป็น mind mapping โดยการระดมพลังสมอง และที่สำคัญเนื่องจากปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลง อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในยุค IT ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แม้กระทั่งด้านการศึกษา สิ่งนี้เองที่ครูอาจจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น จัดการเรียนการสอนด้วยระบบ e - learning ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยฝึกเด็กรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งเรายังสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระอื่นๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการลำเลียงน้ำของพืช ซึ่งก่อนที่เราจะแสดงการทำงานของพืช เราก็ฝึกให้เด็กรู้จักคิดโดยใช้หลักการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออกในสิ่งที่ตนกำลังคิดอยู่ "ว่าพืชลำเลี้ยงน้ำอย่างไร" แล้วอาจจะเขียนสรุปเป็น mind mapping ก็ได้
      ดังนั้นครูควรใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เหมาะสมกับสาระที่สอนและที่สำคัญยิ่งคือเหมาะสมกับผู้เรียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น